สุขภาพน่ารู้

ไตเสื่อมจากความดัน 6เทคนิคป้องกันและชะลอ CKD

1ใน2 หรือครึ่งหนึ่งของคนที่เป็นความดันสูง ไม่รู้ว่าตัวเองเป็น และคนที่มีความดันสูง จะมีความเสี่ยงของเส้นเลือดสมองแตกและหัวใจวายมากกว่าคนที่ความดันปกติถึง 4 และ 2 เท่าตามลำดับ เราจึงเรียกความดันสูงว่า “ฆาตกรเงียบ” 

ความดันสูงไม่มีสัญญาณเตือนใดๆ แต่จะคืบคลานทำลายอวัยวะต่างๆจนเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เช่นโรคหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองแตก หัวใจวาย ไตวายเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอันดับต้นๆ

อาการที่เกิดจากความดันสูง จนเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก ที่เห็นได้ชัดและเห็นบ่อยๆคือ อัมพาต อัมพฤกษ์ครึ่งซีก ปากเบี้ยว ลิ้นแข็งพูดไม่ชัด ความดันสูงยังทำให้จอประสาทตาเสื่อมมองไม่ชัดหรือถึงขั้นตาบอด ไตเสื่อมจนต้องฟอกไต ล้วนเริ่มมาจากความดันสูงที่ไม่รู้ตัว หรือขาดการควบคุมดูแล

องค์การอนามัยโลกรายงานว่าทั่วโลกมีผู้ที่มีความดันสูงมากถึง 1 พันล้านคน ซึ่ง 2 ใน 3 ของจำนวนนี้อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา โดยประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลก 1 คน ใน 3 คนมีภาวะความดันสูง มีการรณรงค์ทุกวันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี ให้เป็นวัน World Hypertension Day เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักถึงอันตรายของความดันสูง ช่วยกันป้องกันและควบคุม โดยปี 2018 มีธีมว่า Know You Numbers (รู้ตัวเลขของคุณ หรือ รู้ค่าความดันของคุณ)

ความดันโลหิต หรือเรียกสั้นๆว่า ความดัน หมายถึง แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดงซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ (คล้ายแรงลมที่ดันผนังของยางรถเมื่อเราสูบลมเข้า หรือ คล้ายน้ำที่พุ่งออกจากก๊อกดันผนังของสายยางรดน้ำต้นไม้) ซึ่งสามารถวัดได้โดยการใช้เครื่องวัดความดัน

ค่าที่วัดได้จะมี 2ค่า คือ ความดันช่วงบน เป็นแรงดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัว และความดันช่วงล่าง เป็นแรงดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันเด็กแรกเกิดจะเริ่มที่ 64/40 จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่สุขภาพดีจะมีความดันที่ 120/80 ในเวลาช่วงพัก 

ภาวะความดันโลหิตสูง ความดันสูง หมายถึง ภาวะที่ความดันช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 130 ขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 80 ขึ้นไป ซึ่งโดยมากผู้ป่วยจะมีความดันช่วงล่างสูง โดยที่ความดันช่วงบนจะสูงหรือไม่ก็ได้ แต่บางรายอาจมีความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว แต่มีค่าความดันช่วงล่างไม่สูงก็ได้เช่นกัน

สาเหตุของความดันสูง

– 90-95% ของคนเป็นความดันสูงจะเป็นแบบ Primary คือไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แพทย์เชื่อว่าเกี่ยวกับหลายๆปัจจัยเช่น กรรมพันธุ์ เชื้อชาติ และ Lifestyle การใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยง เช่น ชอบทานอาหารรสจัด ทานเค็ม ทานอาหารที่มีเกลือโซเดียมเยอะ น้ำหนักเกินหรืออ้วน สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ออกกำลังกาย พบได้มากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และยิ่งอายุมากขึ้นก็จะมีโอกาสเป็นได้มากขึ้น หากปล่อยไว้นานมากกว่า 10ปี จะเกิดผลร้ายกับอวัยวะต่างๆรวมถึง หัวใจ เส้นเลือดสมอง ดวงตา ไต รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงชีวิต

– ที่เหลืออีก 5-10% ของคนเป็นความดันสูงเป็นแบบ Secondary มีสาเหตุแน่ชัด มักมีความดันโลหิตสูงซึ่งเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที อาจเกิดได้จากหลายสภาวะ ได้แก่โรคไต หลอดเลือดแดงไตตีบ หลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ เนื้องอกบางชนิดของต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง การใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน โรคของต่อมไร้ท่อ และผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาเม็ดคุมกำเนิด/เอสโตรเจน รวมไปถึงการใช้สารเสพติดอย่างแอมเฟตามีน/โคเคน

จะเห็นได้ว่า ไตเป็นอวัยวะที่มีหลอดเลือดมากที่สุดในร่างกาย เมื่อมีความดันสูง แรงดันจึงมีผลต่อหลอดเลือดในไตโดยตรง หลอดเลือดจึงเสื่อมเร็ว เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ไตเสื่อมสภาพในการกรองสารพิษต่างๆ ของเสียคั่งค้างในเลือดและร่างกาย ไตไม่สามารถปรับสมดุลย์น้ำและเกลือแร่ ไม่สามารถควบคุมความดัน หัวใจจึงทำงานหนักขึ้น เมื่อไตเสื่อมลงมากกว่าครึ่ง จะพบความดันสูงมากขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับการทำงานของไตที่ลดลง ผู้ป่วยจะปัสสาวะบ่อยขึ้นในตอนกลางคืน ขาบวมตอนสาย อ่อนเพลีย ซีด คลื่นไส้ อาเจียน

6 เทคนิคป้องกันและชะลอ ไตเสื่อมจากความดันสูง

1. ลดอาหารรสจัด รสเผ็ด ลดเกลือ ลดเค็ม ลดเกลือโซเดียมที่อยู่ในซ๊อสและน้ำปรุงรสทั้งหลาย ซ๊อสมะเขือเทศ ซ๊อสพริก ซีอิ๊ว น้ำจิ้มสุกี้ เต้าหู้ยี๊ ซุปก้อน กุ้งแห้ง ปลาสลิด หมู/เนื้อแดดเดียว หมูแผ่น หมูหยอง ไส้กรอก แฮม เบคอน ปลาเส้น สาหร่าย เต้าเจี้ยว ปลาร้า ผักกาดดอง ของหมักดองอื่นๆ ลูกชิ้น แหนม อาหารกระป๋อง โจ๊กกระป๋อง บะหมี่สำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ขนมกรุบกรอบ น้ำดื่มเกลือแร่ รวมไปถึงขนมปังและเบเกอรี่ที่ใส่ผงฟู

2. ลดน้ำหนักให้มีน้ำหนักตัวตามมาตรฐาน
3. ออกกำลังกาย อย่างต่ำครั้งละ 30-45นาทีต่อเนื่อง 3-4ครั้งต่อสัปดาห์
4. งดหรือลด บุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. เพิ่มผักและผลไม้ในแต่ละมื้ออาหาร

6. วัดความดันสม่ำเสมอ ควรตรวจสุขภาพประจำปี และควรมีเครื่องวัดความดันเองที่บ้าน
คำแนะนำในการวัดความดันเองที่บ้าน ควรนั่งนิ่งๆผ่อนคลาย 5นาที นั่งพิงพนัก เท้าทั้งสองวางราบกับพื้น ขาคู่กันไม่นั่งไขว่ห้าง ไม่ขยับตัวหรือพูดคุย วางแขนที่วัดบนที่ราบความสูงระดับหัวใจ เอาลมออกให้หมดทุกครั้งก่อนวัด และควรวัด 2ครั้งโดยห่างกัน 1-2นาทีเพื่อหาค่าเฉลี่ย

**ถ้าพบว่าตัวเองมีความดันสูงต่อเนื่องให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจ**

1ใน 3 ของผู้ป่วยไตเสื่อม มาจากคนที่เป็นความดันสูง และในผู้ป่วยไตเสื่อมเรื้อรัง หากปล่อยให้ความดันสูงอยู่อย่างต่อเนื่อง จะเป็นการเร่งให้ไตเสื่อมลงเร็วขึ้น หลอดเลือดฝอยในไตเสื่อม โปรตีนรั่ว ไตวาย จนต้องฟอกไต อีกทั้งเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดสมองถึงขั้นเสียชีวิต

ข่าวดีคือ ความดันสูง สามารถควบคุมได้ !!!
เริ่มปฏิบัติตาม 6เทคนิคข้างต้นตั้งแต่วันนี้
ร่วมกับบำรุงฟื้นฟูหัวใจและหลอดเลือด ปรับสมดุลย์ไขมันและความดัน
ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติรูปแบบเจล สะดวก ปลอดภัย ไม่สะสมที่ตับไต
อร่อยและทานง่าย มีอย. ศึกษาเพิ่มเติม คลิ้ก

Comments Off on ไตเสื่อมจากความดัน 6เทคนิคป้องกันและชะลอ CKD
Open