5 ป้องกันและลดอาการ SLE กำเริบ โรคพุ่มพวง
SLE หรือโรคพุ่มพวง (แพ้ภูมิตัวเอง)
เป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่สามารถป้องกันและลดอาการกำเริบได้
พุ่มพวง ดวงจันทร์ ศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงของไทย
ได้ป่วยและเสียชีวิตลงด้วยโรคนี้ จึงเป็นที่รู้จักและถูกเรียกต่อกันมาว่า โรคพุ่มพวง
อาการของโรคพุ่มพวง หรือ SLE
- ไม่แน่ชัด ไม่เหมือนกันในแต่ละคน แต่พบได้เรื่อยๆไม่ถึงกับบ่อย
- สถิติประมาณ 20-150 คนต่อประชากร 100,000 คน
- พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 9-10เท่า
- มักพบในช่วงวัยเจริญพันธุ์ คือ อายุ15-45ปี
และตั้งแต่พุ่มพวงเสียชีวิต เราจึงเริ่มรู้จักและหวาดกลัว
Systemic Lupus Erythematosus หรือ SLE หรือ Lupus
โรคลูปัส หรือ โรคพุ่มพวง
คือการที่ภูมิคุ้มกันของเราสับสน เข้าโจมตีเนื้อเยี่อของตัวเราเอง
จนเกิดการอักเสบ และมีอาการต่างๆ แล้วแต่ว่าอวัยวะส่วนไหนจะถูกโจมตี
ร่างกายของเราจึงเปรียบเหมือนเป็นสมรภูมิรบเลยทีเดียว
อวัยวะและอาการที่ถูกโจมตี เช่น
– ผิวหนัง ที่เห็นได้ชัดและบ่อยคือจะมีผื่นขึ้นที่หน้า ช่วงโหนกแก้มทั้งสองข้าง ดูคล้ายเป็นรูปผีเสื้อ ผื่นแดงยังอาจเกิดขึ้นทั่วร่างกาย และในปากมีแผลร้อนในอยู่บ่อยๆ
– ข้อต่อ ที่เรามักรู้จักกันในนาม รูมาตอยด์ ซึ่งจะเกิดการอักเสบบวมแดงที่ข้อต่อต่างๆ
– เลือด จำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง เกล็ดเลือดตก เกิดภาวะโลหิตจาง จึงรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
– สมอง ความจำเสื่อม ปวดศีรษะ ประสาทหลอน
– ระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง ท้องอืด ขับถ่ายผิดปกติ
– ไต มีโปรตีนรั่ว การกรองต่างๆของไตเสียไป ไตเสื่อม ไตวาย อาจถึงขั้นฟอกไต ล้างไต
– ปอดและหัวใจ เกิดการอักเสบ มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ เหนื่อยหอบ หัวใจเต้นผิดปกติ
สาเหตุของโรคพุ่มพวง หรือ SLE นี้ไม่แน่ชัด
แพทย์ลงความเห็นว่าโรค SLE นี้มีความเกี่ยวพันกับ
– พันธุกรรม
– สิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แสงแดด เชื้อโรคต่างๆ
– ฮอร์โมน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งช่วงวัยเจริญพันธุ์มีสูง ภูมิต้านทานจะสูงขึ้นและออกโจมตี
การวินิจฉัยโรคโรคพุ่มพวง หรือ SLE
ต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วย และผลตรวจเลือด
ถ้ามีอาการข้างต้น 3-4 อย่าง เช่น
- ปวดตามข้อ
- มีผื่นขึ้นตามผิวหนังหรือโหนกแก้ม
- มีไข้เป็นๆหายๆ
- และเพศหญิง
- ร่วมกับผลเลือดเกี่ยวกับภูมิต้านทาน 2ตัว
แพทย์ก็สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคพุ่มพวง หรือ SLE
ยังไม่มีการรักษาโรคพุ่มพวง หรือ SLE ที่ชัดเจน
และเป้าหมายของการรักษาคือ คุมอาการ
ต้องดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการกำเริบ
5 ป้องกันและลดอาการ โรคพุ่มพวง หรือ SLE กำเริบ
1. เลี่ยงแสงแดด ป้องกันการถูกแสงแดดโดยตรง ควรสวมเสื้อแขนยาว คลุมร่างกายให้มิดชิด ใส่แว่นกันแดด ใส่หมวก กางร่ม เพราะแสงแดดจะกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นและเข้าโจมตีเนื้อเยี่อที่ดี
2. ทานอาหารดีมีประโยชน์ ทานผักผลไม้และอาหารออแกนิค เลี่ยงของหมักดอง อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง การมีระบบทางเดินอาหารที่ปกติ ระบบย่อยดี ระบบดูดซึมดี ระบบขับถ่ายไม่มีปัญหา แบคทีเรียในลำไส้จะเจริญเติบโต ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลย์ภูมิต้านทานให้เราได้
ควรทานอาหารเสริมบำรุงอวัยวะที่มีความเสี่ยงด้วย เช่น หัวใจ ไต ปอด
3. พักผ่อนให้เพียงพอ นั่งสมาธิ คุมความเครียด เพราะความเครียดจะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่มีผลต่อภูมิต้านทานของเรา
4. งดสูบบุหรี่ โทษร้ายแรงของบุหรี่คงเป็นที่รู้จักกันดี
5. ออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ป้องกันและรักษาได้ทุกโรคเลยทีเดียว จัดเวลาออกกำลังกายเป็นวินัยส่วนบุคคล และสุขภาพที่ดีขึ้นอยู่กับวินัยนี่เอง
โรคพุ่มพวง หรือ SLE จะเป็นๆหายๆ อาการไปๆมาๆ มีการกำเริบ แต่ละคนไม่เหมือนกัน
หากมีอาการรุนแรงที่เกี่ยวกับ หัวใจ ปอด ไต คุณต้องการแพทย์เฉพาะทาง
แพทจะรักษาตามอาการที่กำเริบให้โรคสงบโดยเร็วเพื่อป้องกันไตเสื่อม ไตวาย
ถ้าคุณเป็นโรคพุ่มพวง หรือ SLE คุณควร
– สวมเสื้อผ้ามิดชิดปิดบังแดด
– ตรวจความบางของกระดูกสม่ำเสมอ
– รับข่าวสารข้อมูลการสร้างเสริมภูมิ วัคซีน ฯลฯ
– เลี่ยงบุหรี่และยาสูบ
– ทานอาหารเสริมบำรุงหัวใจและไตเพื่อชะลอการอักเสบ และลดอาการเมื่อ SLE โจมตี
สารอาหารเสริมหัวใจ-7ชนิดในซองเดียว
บำรุงหัวใจและหลอดเลือด แบบเจล คลิ้กศึกษา
บำรุงฟื้นฟูหัวใจ คลิ้กศึกษาที่ภาพด้านล่างนี้ค่ะ
SLE ลงไต โปรตีนรั่ว
“ผลลัพธ์ในภาพและวีดิโอเป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคล… ผลลัพธ์การช่วยเรื่องสุขภาพของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน”
SLE ลงไต โปรตีนรั่ว
“ผลลัพธ์ในภาพและวีดิโอเป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคล… ผลลัพธ์การช่วยเรื่องสุขภาพของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน”
SLE ลงไต เหนื่อย เพลีย
“ผลลัพธ์ในภาพและวีดิโอเป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคล… ผลลัพธ์การช่วยเรื่องสุขภาพของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน”
สารสกัด Fucoidan ช่วยกระตุ้นการสร้างสเต็มเซลล์
ปรับสมดุลย์ภูมิคุ้มกัน และฟื้นฟูไต คลิ้กศึกษา
บำรุงฟื้นฟูไต คลิ้กศึกษาที่ภาพด้านล่างนี้ค่ะ
ลูกวัยรุ่นไม่ชอบทานอาหาร ทานแต่ขนมกรุบกรอบ และน้ำอัดลม
อีกทั้งมีปัญหา SLE ต้องทานยาประจำ
จนไตวาย ต้องฟอกไต ตั้งแต่อายุ 20กว่า
“ผลลัพธ์ในภาพและวีดิโอเป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคล… ผลลัพธ์การช่วยเรื่องสุขภาพของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน”
2 เคส สาวอายุประมาณ 30 เป็น SLE
ต้องทานยากดภูมิเป็นประจำ
เริ่มมีอาการอ่อนเพลีย ตัวบวม ลุกไปทำงานไม่ไหว ปัสสาวะขุ่น โปรตีนรั่ว
“ผลลัพธ์ในภาพและวีดิโอเป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคล… ผลลัพธ์การช่วยเรื่องสุขภาพของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน”
คลิปโปรบีไลฟสด เรื่อง SLE สาเหตุ อาการ การป้องกัน และการรักษา คลิ้กชมค่ะ
สนใจปรึกษาเรื่องสุขภาพ
ติดต่อผู้เชี่ยวชาญ โปรบี
โทร. 092 456 2392
Line : @gelhappy
คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อแอดไลน์อัตโนมัติเลยค่ะ
http://ow.ly/SF5O30f9aCn